วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การกำหนดให้ Ubuntu จาก text mode ให้กลับมาเป็น graphic mode (How to revert to desktop boot later by restoring GRUB config file)

บทความนี้ว่าด้วยเรื่องการ set ให้ Ubuntu จาก text mode กลับมาเป็น graphic mode ดังเดิม ซึ่งก็เปรียบเสมือนการย้อนวิธีการทำงานของบทความเรื่อง การบูต Ubuntu เป็นรูปแบบ text mode  นั้นเอง (หมายเหตุในการทำวิธีนี้ผมได้ทำ backup file grub ไว้ก่อนแล้ว และนำกลับมาใช้ใหม่อีกครับ) เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการนอนเรามาเริ่มกันเลยนะครับ ^^

1. sudo cp /etc/default/grub.back /etc/default/grub
    #เป็นการ copy ตัวต้นฉบับที่เรา backup  เอาไว้กลับมาใช้อีกครับ

2. sudo update-grub
    #ทำการสั่ง update grub 

3. sudo systemctl set-default graphical.target

4. sudo reboot

การบูต Ubuntu เป็นรูปแบบ text mode (How to boot into command line on Ubuntu or Debian)

บทความนี้เป็นการกำหนด ให้ Ubuntu เมื่อเปิดเครื่องมาแล้วให้แสดงผลในรูปแบบ text mode ซึ่งสามารถทำได้ 2 แบบ (เท่าที่ได้ลอง ณ ขณะนี้) คือ กดปุ่ม CTRL+ALT+F1 พร้อม ๆ กัน และแก้ไขค่า config ของระบบ ซึ่งบทความนี้เราจะเน้นในทำการแก้ไขค่า config ของเครื่องเพื่อให้เปิดเครื่องมาแล้วเป็น text mode เลย

1. sudo cp /etc/default/grub /etc/default/grub.back
    #ทำการ copy file grup ไว้ในชื่อว่า grub.back ซึ่งอยู่ใน path  /etc/default/

2. sudo nano /etc/default/grub
    #เปิด grub file ขึ้นมาโดยใช้โปรแกรม nano

3. comment บรรทัดที่เขียนว่า  GRUB_CMDLINE_LINUX_DEFAULT="quiet"
 
4. หาบรรทัดที่เขียนว่า GRUB_CMDLINE_LINUX="" และให้ใส่คำว่า text ภายในเครื่องหมาย "" ก็จะได้เป็น GRUB_CMDLINE_LINUX="text"

5. sudo update-grub  
   #สั่งอัพเดต grub

6.  sudo systemctl set-default multi-user.target

7. sudo reboot

การลบโฟลเดอร์ใน Ubuntu (How to remove folder in Ubuntu)

บทความฉบับนี้เป็นการอธิบายรูปแบบคำสั่งเพื่อใช้ในการลบโฟลเดอร์ของ Ubuntu ซึ่งมีรูปแบบของคำสั่งคล้าย ๆ กับการลบไฟล์ที่ได้เขียนไปแล้วนะครับ งั้นเรามาเริ่มกันเลยนะครับ

รูปแบบคำสั่ง:  rm -rf ชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการลบ

เราได้เห็นรูปแบบคำสั่งแล้วถัดมาก็มาการใช้งานของคำสั่งกันครับ ซึ่งก็ใช้คล้าย ๆ กับคำสั่งลบไฟล์เลยครับ

ตัวอย่างที่ 1
เรามีไฟล์ทั้งหมด 10 ไฟล์อยู่ในโฟลเดอร์ tmp

1. sudo rm -rf tmp  (กด Enter)
2. กลับมาสู่ command prompt โดยทันที





การลบไฟล์ในUbuntu (How to remove file in Ubuntu )

สวัสดีครับวันนี้เป็นวันที่สองที่เราเจอกันใน Blog แห่งนี้อีกครั้ง เนื่องจากวันนี้ผมได้ติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ กับ Linux แล้วต้องใช้คำสั่งในการลบไฟล์บ่อย ๆ เลยเก็บเอามาเขียนเป็น blog ตามประสานะครับ ผิดพลาดประการใดชี้แนะได้นะครับ

ก่อนอื่นผมขอชี้แจ้งนิดหนึ่งนะครับว่า Linux ที่ผมใช้งานนั้นเป็น Ubuntu ดังนั้นคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานนั้นก็อ้างอิงของ Ubuntu  version 16.04 LTS เป็นหลักนะครับ งั้นเรามาเริ่มกันเลยนะครับ

คำสังลบไฟล์ที่ 

rm [Option]  ชื่อไฟล์ที่เราต้องการลบ 

เช่น

เราต้องการลบไฟล์ที่ชื่อว่า dog.txt

ตัวอย่างที่ 1
1. sudo rm dog.txt      (กด Enter)
2. ระบบจะถามว่าคุณต้องการจะลบ file ที่ชื่อว่า dog.txt หรือไม่
3.เราตอบ yes เพื่อต้องการลบไฟล์ตัวนี้ แต่ ถ้าไม่ต้องการลบให้ตอบ no ครับ

ซึ่งจากการใช้งานที่ผ่านมานั้นรูปแบบตัวอย่างที่ 1 นั้น เหมาะสำหรับการลบไฟล์น้อย ๆ ประมาณ 3 - 5 ไฟล์เท่านั้น เพราะถ้ามีไฟล์มากกว่า 5 ไฟล์แล้วไซร้ บอกเลยครับ ตอบ yes กันเมื้อยตุ้มเลย 

ตัวอย่างที่ 2
1. sudo rm -f dog.txt   (กด Enter)
2. กลับมาสู่ command promp ของ Linux

สิ่งที่เกิดขึ้นในตัวอย่างที่ 2 นี้ คือ ระบบจะไม่ถามอะไรกับผู้ใช้เลย ว่าต้องการลบไฟล์ dog.txt หรือไม่ แต่ระบบทำการลบโดยทันที

ตัวอย่างที่ 3 
ในตัวอย่างนี้เรามี file ทั้งหมด 10 ตัว ใน โฟลเดอร์ที่ชือว่า tmp นะครับ
dog1.txt, dog2.txt, dog3.txt, dog4.txt, dog5.txt, dog6.txt, dog7.txt, dog8.txt, dog9.txt, dog10.txt

ถ้าเราใช้คำสั่งแบบตัวอย่างที่ 1 คือ

1. sudo rm *  (กด Enter)
2. ระบบจะถามว่าคุณต้องการจะลบ file ชื่อว่า dog1.txt หรือไม่
3. เราตอบ yes เพื่อต้องการลบไฟล์ตัวนี้ แต่ ถ้าไม่ต้องการลบให้ตอบ no ครับ
4. ระบบจะถามว่าคุณต้องการจะลบ file ชื่อว่า dog2.txt หรือไม่
5. เราตอบ yes เพื่อต้องการลบไฟล์ตัวนี้ แต่ ถ้าไม่ต้องการลบให้ตอบ no ครับ
6. ระบบจะถามว่าคุณต้องการจะลบ file ชื่อว่า dog3.txt หรือไม่
7. เราตอบ yes เพื่อต้องการลบไฟล์ตัวนี้ แต่ ถ้าไม่ต้องการลบให้ตอบ no ครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
จบครบทั้ง 10 ตัว 

ซึ่งจากตัวอย่างที่ 3 นี้ บอกเลยครับเป็นภาระกับชีวิตมากมาย เพราะต้องกดเมื้อยนิ้วเลยครับ ^^

ตัวอย่างที่ 4
ผมขออ้างอิงข้อมูลจากตัวอย่างที่ 3 นะครับ

1. sudo rm -f  *
2. จบครับ ^^

จากตัวอย่างที่ 4 นั้นระบบจะไม่ถามอะไรกับเราเลย กด Enter ปุ๊บ เสร็จปั๊บ ^^


วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ต้นกำเนิดของลองทำดู

Blog ตัวนี้มันเกิดขึ้นจากการที่ผมได้รับมอบหมายให้ติดตั้งframeworkในการทำ deep learning โดยรันผ่านตัว GPU ซึ่งงานนี้เป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับตัวเองเนื่องจากไม่เคยรู้จัก หรือสัมผัสใด ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีตัวนี้(น่าจะอยู่ในกะลาอะ) เลยคิดว่าจะลองเขียนblogวิธีติดตั้งเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ของ framework 

นอกจากจะลองเขียนเกี่ยวกับการติดตั้งต่าง ๆ แล้ว ก็อยากจะลองทำเป็นไดอารี่ของตัวเองดูบ้างว่าในแต่ละวันเราทำอะไรไปบ้างเขียนเป็นอย่างไรบ้าง ต้องปรับปรุงอะไรบ้าง

ถามว่ามันเป็นเรื่องที่ท้าทายมั้ยบอกเลยครับว่ามาก แต่ในความท้าทายนั้นสิ่งที่ตามมาคือความยากในการติดตั้งระบบถามว่าทำไมมันยากเหรอ สำหรับตัวผมนั้นบอกเลยครับว่ายากมากเนื่องจากเราไม่คุ้นชินกับเครื่องมือต่าง ๆ เช่น NumPy, Six, CUDA, filelock cuDNN, Protocol Buffers, h5py และ Chainer ซึ่งทั้งหมดทำงานบน linux 

ตอนนี้ทำมาได้ประมาณ 1 เดือนสิ่งที่ผมสามารถติดตั้งได้มีเพียง 3 อย่างคือ NumPy, Six และ CUDA ถามว่าน้อยมั้ยบอกเลยครับว่าน้อยมาก ๆ เลยครับ ซึ่งจากการพิจารณาถึงสาเหตุว่าทำไมเราทำงานได้น้อยและช้าเกิดจากอะไรผมก็ได้ข้อสรุปสำหรับตัวเองว่า

1.ภาษา เนื่องจากว่าในการติดตั้งเครื่องมือทุกตัวนั้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการอธิบายการทำงานทุกอย่าง รวมถึงการแก้ไขข้อผิดพลาดในบางครั้งเราจะต้องอ่านจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งถ้าเราไม่ถนัดเราก็จะทำงานได้ช้า และตีความได้ผิดพลาด
2.ขาดความรอบคอบ บ่อยครั้งที่เราสะเพร่าในการทำงานมันเลยทำให้งานเราเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น
3.การฝืน ในที่นี้หมายความว่า สภาพร่างกายเราไม่ไหวแล้วแต่เราก็ยังอยากจะทำต่อให้เสร็จเนื่องจากอยากปิดงานเร็ว ๆ แต่สิ่งที่ตามมาคือเราอาจจะทำให้ทั้งงานและเราพังทั้งหมดก็เป็นได้
4.ไม่ยอมอ่าน ในหัวข้อนี้เราจะบอกถึงว่าการติดตั้งเครื่องมือใด ๆ ก็ตามเค้ามีคู่มือในการติดตั้งอยู่แล้วแต่เรามักใช้ความรู้สึกว่าน่าจะทำอย่างนี้ถึงจะติดตั้งเครื่องมือได้ 
(ซึ่งเจ้าความรู้สึกแบบนี้น่าจะตบกระโหลกให้ตายเพราะโครตเสียเวลา)
5.ขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Linux ก็ค่อนข้างสำคัญนะเพราะเราใช้ระบบปฏิบัติเป็น Linux ทั้งหมดซึ่งกว่าเราจะผ่านด่านของมันไปได้แต่ละอันหนิ 55555 สนุกสนานกันเลยทีเดียว ^^