วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เจอ error "Intel MKL FATAL ERROR: Cannot load libmkl_avx2.so or libmkl_def.so." ubuntu

Error "Intel MKL FATAL ERROR: Cannot load libmkl_avx2.so or libmkl_def.so."
ผมเจอตอนที่ผมทดสอบโมดูล "scikit-learn" ของpython บน Ubuntu

หลังจากหาทางออกอยู่ซักพักก็พบว่ามันมีหลายทางออกให้เราลองใช้ทั้งแบบสั้น ๆ และแบบหนังชีวิต
คือแบบยาว ๆ หน่อย ส่วนผมเป็นพวกแบบชอบอะไรกะทัดรัดเลยลองทำแบบสั้น ๆ ดูซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ
มันสามารถทำงานได้โดยใช้คำสั่ง

conda install nomkl


และทำการทดสอบการทำงานโดยใช้คำสั่ง

nosetests -v sklearn





                              ภาพแสดงการทำงานเมื่อรันคำสั่ง nosetests -v sklearn






วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Py05.เขียนโปรแกรม python ที่ต่อเนื่องหลายบรรทัดโดยมีการใช้เครื่องหมาย[ ] แบบที่ 2 (Multi-Line Statements)

1. เขียน code ดังนี้

Days = ['Monday', 'Tuesday', 'Wednesday',
        'Thursday', 'Friday']

print (Days)


 2. รันโปรแกรม
     python python04.py

3. แสดงผลลัพธ์ของโปรแกรม









Py04.เขียนโปรแกรม python ที่ต่อเนื่องหลายบรรทัด แบบที่ 1 (Multi-Line Statements)

1.เขียน code ข้างล่าง

#!/usr/bin/python3

Total = "item_one + \
item_two + \
item_three + \"

print (Total)






2. รันโปรแกรม
    python python03.py

3. แสดงผลของโปรแกรม


วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การ set remote desktop บน ubuntu

1. ติดตั้ง xRDP
    sudo apt-get update
     sudo apt-get install xrdp
 
2. ติดตั้ง  XFCE4
    sudo apt-get install xfce4
    sudo apt-get install xfce4-terminal
    sudo apt-get install gnome-icon-theme-full tango-icon-theme
 
3.  Configure xRDP
     3.1. สร้างไฟล์  .xsession ที่ home directory
            echo xfce4-session >~/.xsession
 
      3.2. ทำการแก้ไข xRDP file 
            sudo nano /etc/xrdp/startwm.sh 
      3.3. แก้ตามรายละเอียดดังนี้
 
             #!/bin/sh

             if [ -r /etc/default/locale ]; then
             . /etc/default/locale
             export LANG LANGUAGE
             fi 
 
             startxfce4
 
4. Reboot เครื่อง
    sudo reboot
     
5. Connect remote ผ่านทาง windows เลย

อ้างอิง: http://www.tweaking4all.com/software/linux-software/use-xrdp-remote-access-ubuntu-14-04/
           https://askubuntu.com/questions/592537/can-i-access-to-ubuntu-from-windows-remotely
 

Py03.การตั้งชื่อใน python

การตั้งชื่อในภาษา python ไม่ว่าจะเป็นตั้งชื่อตัวแปร ฟังก์ชั่น(function) คลาส(class) โมดูล(module) และออบเจ็คอื่น ๆ

ชื่อสามารถนำหน้าด้วยตัว#อักษรภาษาอังกฤษ A ถึง Z หรือ a ถึง z 
และตามด้วยตัวอักษรต่าง ๆ เช่น underscore หรือ ตัวเลข (0 ถึง 9)
ชื่อสามารถนำหน้าด้วย underscore (_) 
และตามด้วยตัวอักษรต่าง ๆ เช่น underscore หรือ ตัวเลข (0 ถึง 9)

ภาษา python ไม่อนุญาติให้ใช้อักษรพิเศษมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น @ $ และ %
อีกทั้งภาษา python ยังค่อนข้าง case sensitive ในการตั้งชื่อ เช่น Testman กับ testman  
ในภาษา python มองว่าเป็นตัวแปรคนละตัวกัน ถึงแม้ว่าจะชื่อเดียวกัน

ตัวอย่างการตั้งชื่อในส่วนต่าง ๆ เช่น

การตั้งชื่อ Class  ให้ตัวอักษรตัวแรกให้เป็นพิมพ์ใหญ่ และตัวถัดไปเป็นตัวอักษรตัวเล็ก
ถ้าการตั้งชื่อมีการใช้ underscore 1 ขีด(_) มาไว้หน้าตัวแปร/class/module เป็นการบอกว่าตัวแปร/class/module ตัวนี้เป็นชนิด private
ถ้าการตั้งชื่อมีการใช้ underscore 2 ขีด(__) มาไว้หน้าตัวแปร/class/module เป็นการบอกว่าตัวแปร/class/module ตัวนี้เป็นชนิด private สูง

อ้างอิง: http://www.tutorialspoint.com/python3/python_basic_syntax.htm

Py02.รัน Python โดยที่ไม่ต้องใช้คำสั่ง python บน ubuntu

บทความนี้เป็นการทำงานต่อจากบทความเรื่อง มาลองเขียน python ไฟล์แรกกันเถอะบน ubuntu ซึ่งเราจะใช้ code เหมือนเดิมทั้งหมด และมีการเพิ่ม code เพิ่มเติมเข้าไปอีก งั้นเรามาเริ่มกันเลย

1. เปิด file python01.py
    sudo nano python01.py

2. เขียน Code เพิ่มเข้าไปในส่วนบนสุดของ file คือ
    #!/usr/bin/python3


3. Save python01.py

4. ทำการ chomd python01 ด้วยคำสั่ง
    chmod +x python01.py

5. รันไฟล์ python.py
    ./python01.py




อ้างอิง: http://www.tutorialspoint.com/python3/python_basic_syntax.htm




Py01.มาลองเขียน python ไฟล์แรกกันเถอะบน ubuntu

1. สร้างไฟล์ python ที่เราจะเขียนโปรแกรม
    sudo nano python01.py

2. เขียนประโยคยอดฮิตสำหรับการเขียนโปรแกรมครั้งแรกคือ Hello World และ First code python
    print ("Hello World)
    print ("First code python")


3. Save file python01.py

4. รันโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้คำสั่ง python
    python python01.py

5. โปรแกรมจะแสดงเป็น
    Hello World
    First code python


 
อ้างอิง: http://www.tutorialspoint.com/python3/python_basic_syntax.htm

การติดตั้ง IDE สำหรับการเขียน python บน Ubuntu

IDE สำหรับการเขียน python version 3 ขึ้นไปบน linux เราใช้คำสั่ง

sudo apt-get install idle3

การ ติดตั้ง และการใช้งาน github โดยใช้ ubuntu แบบคร่าว ๆ

1. ติดตั้ง git ใน linux ของเรา
     sudo apt-get install git

2. Setup ชื่อและอีเมล์สำหรับใช้งาน Git
    (หมายเหตุ: เราต้องไปสมัครสมาชิกใน https://github.com/ ก่อนนะครับ)

    git config --global user.name "YOURNAME"
    git config --global user.email "your@email.com"

3. ดูว่ารายละเอียดการ config git
    git config --list

4. สร้าง folder สำหรับที่เราจะใส่ file และสร้าง git repository ซึ่งควรจะเป็น folder เดียวกัน
    sudo mkdir gitfile
    (หมายเหตุ: gitfile นั้นเป็นชื่อ folder เราจะตั้งชื่ออะไรก็ได้)

5. เข้าไปใน folder ที่สร้างเอาไว้สำหรับใส่ไฟล์ในการทำ git
    cd gitfile

6. สร้างไฟล์ หรือ copy ที่เราต้องการนำขึ้น github มาใส่ใน folder gitfile
 
7.  สร้าง git repository ใน folder gitfile
     git init

8. ตรวจสอบสถานะ repository
    git status

9. add file เพื่อที่จะ upload ขึ้นไปบน github
    git add filename
    (หมายเหตุ: ไฟล์อะไรบ้างที่เราต้องการก็เปลี่ยนจาก filename เป็นชื่อไฟล์ที่เราต้องการ 
                     เช่น hello.sh ก็จะเป็น git add hello.sh เป็นต้น )

10. commit ไฟล์ที่เราได้ add ในข้อที่ 9
      git commit -m "YOUR MESSAGE"
      (หมายเหตุ: ในส่วนของ "YOUR MESSAGE" เราสามารถใส่ข้อความอะไรไปก็ได้แต่ควรเป็นภาษาอังกฤษ 
                      เช่น git commit -m "hello file" )

11. ดูประวัติว่าเราได้ทำอะไรไปบ้างแล้วใน git
     git log

12. สร้าง repository โดยผ่าน github (https://github.com/ )
    12.1. เลือก new repository
    12.2. ชื่อ repository นั้นเราตั้งตามชื่อ folder ที่เราสร้าง git repository ใน linux นั้นคือ gitfile

13. ทำการ remote จากเครื่อง linux ไปยัง github
     git remote add origin git@github.com:YOURNAME/gitfile.git

 14. ตรวจสอบสถานะของ remote
       git remote -v

 15. ส่งข้อมูลไปยัง github
      git push origin master

อ้างอิง: http://devahoy.com/posts/introduction-to-git-and-github/  (เป็นตัวหลักในการใช้เขียนข้อมูลตัวนี้)
           https://www.howtoforge.com/tutorial/install-git-and-github-on-ubuntu-14.04/
           https://git-scm.com/book/th/v1/

คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ใน ubuntu

   เมื่อเราต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์ที่เราทำงานอยู่นั้นเป็นชื่ออื่น ถ้าอยู่ในระบบปฏิบัติการ windows มันก็ง่าย ๆ นะ เพราะส่วนใช้ก็คลิ๊ก ๆ ก็เสร็จแล้ว แต่ถ้าเป็นเราต้องเปลี่ยนชื่อไฟล์แบบ command ใน linux เราต้องทำงัยหละ วันนี้เราเลยมาบอกวิธีการเปลี่ยนชื่อไฟล์แบบคำสั่ง(command) ว่าเค้าทำกันอย่างไร

   รูปแบบ
 
 mv "old file" "new file"


   ตัวอย่าง

      เราต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์ที่ชื่อว่า man.sh เป็น new.sh

mv man.sh new.sh


คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อ Folder ใน ubuntu

การเปลี่ยนชื่อ folder ใน ubuntu แบบ command line นั้นจะคำสั่ง mv โดยมีรูปแบบในการใช้งานดังนี้

sudo mv oldfolder newfolder

ตัวอย่างการใช้งาน

  ตอนนี้เรามี folder ชื่อว่า test แล้วเราต้องการเปลี่ยนชื่อเป็น linux

sudo mv test linux