สวัสดีครับเรามาพบกันอีกครั้งกับการคุยเรื่องหนังสือใน สไตล์สติชตัวน้อย ซึ่งหนังสือที่เราจะคุยกันวันนี้คือ "เปลี่ยนให้ปังดังให้สุด" เนื้อหาน่าสนใจดีครับเกี่ยวข้องกับ"การเปลี่ยนแปลง" ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องเจอไม่ว่าจะเป็นทั้งในชีวิตประจำวัน ในงานที่ทำ หรือในทุก ๆ เรื่องในชีวิตเราก็ว่าได้ และเราจะเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร อีกทั้งยังเล่าถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เขียนลงไปด้วยซึ่งยิ่งอ่าน ยิ่งเพลิน และเห็นภาพในการทำงานของผู้เขียนได้เลยทีเดียวหละครับ
ถ้าพูดถึงการเปลี่ยนแปลงหลายคนคงมีความรู้สึกที่ไม่ค่อยดี เพราะการทำอะไรเดิม ๆ กับสิ่งเดิม ๆ นั้นมันเป็นอะไรที่เราคุ้นชินแล้วไม่ต้องคาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้นมากมาย ไม่ต้องมานับหนึ่งใหม่ แต่การเปลี่ยนแปลงมันเป็นสิ่งที่ดีนะครับ เพราะมันทำให้เรามีการพัฒนาขึ้นจากเดิม แต่การที่เราจะเปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้นได้นั้นเราต้องเข้าใจบริบทต่าง ๆ ที่เราอยู่ด้วยนะครับ เช่น สภาพแวดล้อม, วัฒธรรม, สังคม, รูปแบบการใช้ชีวิตของคน เป็นต้น ซึ่งในการเรียนรู้ถึงบริบทต่าง ๆ รอบตัวเรานั้น เพื่อที่เข้าใจสังคม ผู้คน การใช้ชีวิต ที่เค้าอยู่กันว่าเป็นอย่างไร แล้วเราควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เข้ากับบริบทเหล่านั้น ให้มีความสุขได้อย่างไร
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงที่อาจจะทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เร็ว
1)ทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่าการทำอะไรให้สมบูรณ์แบบนั้นมันไม่ดีเหรอ ตอบได้เลยครับว่าดีครับเพียงแต่สิ่งที่ตามมาคือมันจะทำให้งานที่จะออกมาค่อนข้างช้าครับ และอีกอย่างหนึ่งมันไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบทุกอย่างมันมีข้อผิดพลาดของมันในตัวอย่างแล้วครับ ดังนั้นเวลาทำอะไรให้ทำในรูปแบบพอดี แต่ทำงานให้เต็มที่ และสุดความสามารถ ถ้ามีข้อผิดพลาดก็แก้ไขไป
2)ทำอะไรก็ตามไม่นึกถึงผู้ใช้ หลายคนเลยที่เดียวที่เวลาทำอะไรก็ตามเน้นที่ตัวเองเป็นหลักว่าต้องทำแบบนี้ และคิดว่าคนอื่นจะทำเหมือนตัวเองคิด ซึ่งจริง ๆ มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ดังนั้นเวลาจะทำอะไรให้ดูด้วยว่าผลงานเราจะเอาให้ใครใช้ ก็ควรไปคุยกับเค้าด้วยว่าเค้าต้องการแบบไหน อย่างไร เพราะเค้าจะได้ประโยชน์จากสิ่งที่เราทำมากที่สุด
3)ระบบที่ใช้ในการทำงานไม่สนับสนุนคนทำงานเท่าไหร่ อันนี้ก็มีผลนะครับเพราะจะทำให้การทำงานเร็วไม่เร็วขึ้น หรือมีคุณภาพหรือไม่นั้นขึ้นกับระบบงานด้วย เช่น ถ้ามีขั้นตอนในการทำงานมากอาจจะส่งผลกระบวนการทำงานค่อนข้างจะล่าช้าเพราะต้องรอกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอนุมัติลงมาเป็นทอด ๆ ยิ่งถ้าเราอยู่ปลายสายของรอกันนานแน่ ๆ เลยนะครับ
4)ขาดการทำงานเป็นทีม ตอนนี้เราคงปฏิบัติไม่ได้แล้วว่าเราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้แล้ว สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำถ้าอยากประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วนั้นคือ การทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นการดึงเอาศัพยภาพของแต่ละคนมาช่วยในการขับเคลื่อนงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น
5)ขาดการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ พอพูดอย่างนี้คงคิดว่าต้องเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลหรือไม่ เปล่าเลยนะครับ แต่สิ่งที่ต้องการจะสื่อ คือ งานทุกงาน โครงการทุกโครงการ ควรจะมีผู้สนับสนุนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร สปอนเซอร์ เป็นต้น เพื่อให้การช่วยหรือทั้งด้านการเงิน ด้านเทคนิค ด้านคน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เราทำงานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น
6)ยึดติดกับความสำเร็จเดิม ๆ และการทำงานเดิม ๆ คือ ทำงานแบบเดิมมันไม่มีปัญหาอะไร ก็เลยไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงการทำงานของตัวเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวเองให้มีสูงขึ้น ดีขึ้น
7)ไม่มีการมองแนวโน้มของอนาคตว่าเป็นอย่างไร เป็นการทำงานแบบเรื่อย ๆ ไปวัน ๆ แล้วไม่มีการหาข้อมูลเลยว่าต่อไปจะมีอะไรเข้ามาในสายงานตัวเองบ้าง เข้ามากระทบตัวเองบ้าง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้เมื่อถึงเวลาอาจจะลำบาก เพราะ ปรับเปลี่ยนไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้ตัวเองอาจจะหาจุดยืนได้ยากขึ้น
8)การเมืองในองค์กร มันคงหนีไม่พ้นนะครับเกี่ยวกับการเมืองในองค์กร ซึ่งก็เป็นประเด็นใหญ่เหมือนกันนะครับกว่าเราจะก้าวผ่านไปได้
กระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง
1)มองหาปัญหาที่เราจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมองปัญหา 2 ส่วนคือ สิ่งที่ทำให้องค์กร ทีม หรือตัวเรา มีข้อขัดแย้ง หรือสิ่งที่ไม่สามารถเราไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ ถ้าไม่มีการแก้ไขสิ่งนี้ และสิ่งที่เราต้องการให้องค์กร ทีม และเรา เปลี่ยนในอนาคต ซึ่งเราจะต้องดูแนวโน้มในอนาคตในอีก 2-5 ปีข้างหน้าว่ามันจะเดินในทิศทางใด
สิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนนี้คือ
1.1)List ปัญหาออกมาว่าเรามีปัญหาอะไรบ้าง
1.2)ดูว่าปัญหาที่เรา list ออกมานั้นมันเกี่ยวข้องกันหรือไม่
1.3)ดูว่าปัญหาไหนที่เราจะต้องทำการแก้ไขเป็นอันดับแรก
2)หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหลังจากที่เราเจอปัญหาแล้วในขั้นนี้เราก็เข้าสู่การหาขั้นตอนการหาแนวทางออกสำหรับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
3)สื่อสารในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในการคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับทีมงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าเราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ซึ่งการพูดคุยแบบนี้จะช่วยให้การทำงานสามารถไปในทิศทางเดียวกัน แต่ละคนไม่ต้องตีความกันเอง ทำให้การแก้ปัญหาง่ายขึ้น
4)กำหนดวิสัยทัศน์: เป็นการมองในอนาคตว่าเราจะวางกรอบตัวเองให้อยู่ในทิศทางใด เช่น ในอีก 5 ปีข้างหน้าถ้าพูดถึง Deep Learning ให้นึกถึงเรา
5)กำหนดเป้าหมาย:เป็นการกำหนดในการทำงานซึ่งต้องสอดคล้องกับการกำหนดวิสัยทัศน์ โดยที่เป้าหมายนี้เราควรซอยย่อยอีกมาจากปี มาเดือน เช่น จากวิสัยทัศน์ถ้าพูดถึง Deep Learning ให้นึกถึงเราใน 5 ปี ดังนั้น
ปีที่ 1 เราอาจจะทำวิจัยเกี่ยวกับ Deep Learning แล้วเอาไปตีพิมพ์ และคอนเฟอเรนซ์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ และทฤษฏีต่าง ๆ ของ Deep Learning
ปีที่ 2 เอางานวิจัยไปประยุกต์กับธุรกิจจริง แล้วเอางานไปตีพิมพ์ และคอนเฟอเรนซ์ เพื่อเป็นการพิสูจน์ทั้งทางปฏิบัติ และทฤษฎีว่ามันใช้งานได้จริงหรือไม่
ปีที่ 3 ทำ DL กับธุรกิจจริงมากขึ้น และเข้าร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ทั้งใน และนอกประเทศเกี่ยวกับ DL
ปีที่ 4 พยายามเข้าร่วมกับธุรกิจที่เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ปีที่ 5 ประเมินว่าวิสัยทัศน์กับสิ่งที่ทำมันสอดคล้องกันหรือไม่
หมายเหตุ: อันนี้เป็นตัวอย่างที่ผมคิดเอาเฉย ๆ นะครับไม่ได้เกี่ยวกับหนังสือ แค่ต้องการให้ตัวผมเองเห็นภาพมากขึ้น
6)วางแผน:ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการทำงานตามเป้าหมายที่เราวางกรอบเอาไว้ทั้ง 5 ปีว่าแต่ละปีเราจะทำอะไรบ้าง เช่น ปีที่ 1 กำหนดหัวเรื่องที่เราจะงานวิจัย, ศึกษาทฤษฎี และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง, มองถึงประโยชน์ว่าสามารถนำไปใช้ในธุรกิจใดได้บ้าง และลงมือทำวิจัย เป็นต้น
7)ลงมือทำ:ในขั้นตอนนี้เป็นการลงมือทำตามแผนที่เราได้วางเอาไว้แล้วว่ามีขั้นตอนใดบ้าง และในแต่ละขั้นตอนอยู่ในช่วงเวลาใดบ้าง
8)วัดผล และสะท้อนผลการทำงาน เป็นการวัดผลการทำงานว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ และแนวทางที่วางเอาไว้ใช้งานได้ดีแค่ไหน และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
9)สะท้อนผลการทำงาน: เป็นการพิจารณาผลการทำงานของเราในแต่ละปีว่าเป็นอย่างไรสอดคล้องกับเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่ และควรมีการแก้ไขตรงส่วนใดบ้าง