วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เปลี่ยนให้ปังดังให้สุด

สวัสดีครับเรามาพบกันอีกครั้งกับการคุยเรื่องหนังสือใน สไตล์สติชตัวน้อย ซึ่งหนังสือที่เราจะคุยกันวันนี้คือ "เปลี่ยนให้ปังดังให้สุด" เนื้อหาน่าสนใจดีครับเกี่ยวข้องกับ"การเปลี่ยนแปลง" ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องเจอไม่ว่าจะเป็นทั้งในชีวิตประจำวัน ในงานที่ทำ หรือในทุก ๆ เรื่องในชีวิตเราก็ว่าได้ และเราจะเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร อีกทั้งยังเล่าถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เขียนลงไปด้วยซึ่งยิ่งอ่าน ยิ่งเพลิน และเห็นภาพในการทำงานของผู้เขียนได้เลยทีเดียวหละครับ

ถ้าพูดถึงการเปลี่ยนแปลงหลายคนคงมีความรู้สึกที่ไม่ค่อยดี เพราะการทำอะไรเดิม ๆ กับสิ่งเดิม ๆ นั้นมันเป็นอะไรที่เราคุ้นชินแล้วไม่ต้องคาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้นมากมาย ไม่ต้องมานับหนึ่งใหม่ แต่การเปลี่ยนแปลงมันเป็นสิ่งที่ดีนะครับ เพราะมันทำให้เรามีการพัฒนาขึ้นจากเดิม แต่การที่เราจะเปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้นได้นั้นเราต้องเข้าใจบริบทต่าง ๆ ที่เราอยู่ด้วยนะครับ เช่น สภาพแวดล้อม, วัฒธรรม, สังคม, รูปแบบการใช้ชีวิตของคน เป็นต้น ซึ่งในการเรียนรู้ถึงบริบทต่าง ๆ รอบตัวเรานั้น เพื่อที่เข้าใจสังคม ผู้คน การใช้ชีวิต ที่เค้าอยู่กันว่าเป็นอย่างไร แล้วเราควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เข้ากับบริบทเหล่านั้น ให้มีความสุขได้อย่างไร

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงที่อาจจะทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เร็ว

1)ทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่าการทำอะไรให้สมบูรณ์แบบนั้นมันไม่ดีเหรอ ตอบได้เลยครับว่าดีครับเพียงแต่สิ่งที่ตามมาคือมันจะทำให้งานที่จะออกมาค่อนข้างช้าครับ และอีกอย่างหนึ่งมันไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบทุกอย่างมันมีข้อผิดพลาดของมันในตัวอย่างแล้วครับ ดังนั้นเวลาทำอะไรให้ทำในรูปแบบพอดี แต่ทำงานให้เต็มที่ และสุดความสามารถ ถ้ามีข้อผิดพลาดก็แก้ไขไป

2)ทำอะไรก็ตามไม่นึกถึงผู้ใช้ หลายคนเลยที่เดียวที่เวลาทำอะไรก็ตามเน้นที่ตัวเองเป็นหลักว่าต้องทำแบบนี้ และคิดว่าคนอื่นจะทำเหมือนตัวเองคิด ซึ่งจริง ๆ มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ดังนั้นเวลาจะทำอะไรให้ดูด้วยว่าผลงานเราจะเอาให้ใครใช้ ก็ควรไปคุยกับเค้าด้วยว่าเค้าต้องการแบบไหน อย่างไร เพราะเค้าจะได้ประโยชน์จากสิ่งที่เราทำมากที่สุด

3)ระบบที่ใช้ในการทำงานไม่สนับสนุนคนทำงานเท่าไหร่ อันนี้ก็มีผลนะครับเพราะจะทำให้การทำงานเร็วไม่เร็วขึ้น หรือมีคุณภาพหรือไม่นั้นขึ้นกับระบบงานด้วย เช่น ถ้ามีขั้นตอนในการทำงานมากอาจจะส่งผลกระบวนการทำงานค่อนข้างจะล่าช้าเพราะต้องรอกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอนุมัติลงมาเป็นทอด ๆ ยิ่งถ้าเราอยู่ปลายสายของรอกันนานแน่ ๆ เลยนะครับ

4)ขาดการทำงานเป็นทีม ตอนนี้เราคงปฏิบัติไม่ได้แล้วว่าเราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้แล้ว สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำถ้าอยากประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วนั้นคือ การทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นการดึงเอาศัพยภาพของแต่ละคนมาช่วยในการขับเคลื่อนงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น

5)ขาดการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ พอพูดอย่างนี้คงคิดว่าต้องเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลหรือไม่ เปล่าเลยนะครับ แต่สิ่งที่ต้องการจะสื่อ คือ งานทุกงาน โครงการทุกโครงการ ควรจะมีผู้สนับสนุนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร สปอนเซอร์ เป็นต้น เพื่อให้การช่วยหรือทั้งด้านการเงิน ด้านเทคนิค ด้านคน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เราทำงานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น

6)ยึดติดกับความสำเร็จเดิม ๆ และการทำงานเดิม ๆ คือ ทำงานแบบเดิมมันไม่มีปัญหาอะไร ก็เลยไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงการทำงานของตัวเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวเองให้มีสูงขึ้น ดีขึ้น

7)ไม่มีการมองแนวโน้มของอนาคตว่าเป็นอย่างไร เป็นการทำงานแบบเรื่อย ๆ ไปวัน ๆ แล้วไม่มีการหาข้อมูลเลยว่าต่อไปจะมีอะไรเข้ามาในสายงานตัวเองบ้าง เข้ามากระทบตัวเองบ้าง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้เมื่อถึงเวลาอาจจะลำบาก เพราะ ปรับเปลี่ยนไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้ตัวเองอาจจะหาจุดยืนได้ยากขึ้น

8)การเมืองในองค์กร มันคงหนีไม่พ้นนะครับเกี่ยวกับการเมืองในองค์กร ซึ่งก็เป็นประเด็นใหญ่เหมือนกันนะครับกว่าเราจะก้าวผ่านไปได้

กระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง

1)มองหาปัญหาที่เราจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมองปัญหา 2 ส่วนคือ สิ่งที่ทำให้องค์กร ทีม หรือตัวเรา มีข้อขัดแย้ง หรือสิ่งที่ไม่สามารถเราไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ ถ้าไม่มีการแก้ไขสิ่งนี้ และสิ่งที่เราต้องการให้องค์กร ทีม และเรา เปลี่ยนในอนาคต ซึ่งเราจะต้องดูแนวโน้มในอนาคตในอีก 2-5 ปีข้างหน้าว่ามันจะเดินในทิศทางใด

สิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนนี้คือ

1.1)List ปัญหาออกมาว่าเรามีปัญหาอะไรบ้าง

1.2)ดูว่าปัญหาที่เรา list ออกมานั้นมันเกี่ยวข้องกันหรือไม่

1.3)ดูว่าปัญหาไหนที่เราจะต้องทำการแก้ไขเป็นอันดับแรก

2)หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหลังจากที่เราเจอปัญหาแล้วในขั้นนี้เราก็เข้าสู่การหาขั้นตอนการหาแนวทางออกสำหรับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

3)สื่อสารในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในการคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับทีมงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าเราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ซึ่งการพูดคุยแบบนี้จะช่วยให้การทำงานสามารถไปในทิศทางเดียวกัน แต่ละคนไม่ต้องตีความกันเอง ทำให้การแก้ปัญหาง่ายขึ้น

4)กำหนดวิสัยทัศน์: เป็นการมองในอนาคตว่าเราจะวางกรอบตัวเองให้อยู่ในทิศทางใด เช่น ในอีก 5 ปีข้างหน้าถ้าพูดถึง Deep Learning ให้นึกถึงเรา

5)กำหนดเป้าหมาย:เป็นการกำหนดในการทำงานซึ่งต้องสอดคล้องกับการกำหนดวิสัยทัศน์ โดยที่เป้าหมายนี้เราควรซอยย่อยอีกมาจากปี มาเดือน เช่น จากวิสัยทัศน์ถ้าพูดถึง Deep Learning ให้นึกถึงเราใน 5 ปี ดังนั้น

ปีที่ 1 เราอาจจะทำวิจัยเกี่ยวกับ Deep Learning แล้วเอาไปตีพิมพ์ และคอนเฟอเรนซ์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ และทฤษฏีต่าง ๆ ของ Deep Learning

ปีที่ 2 เอางานวิจัยไปประยุกต์กับธุรกิจจริง แล้วเอางานไปตีพิมพ์ และคอนเฟอเรนซ์ เพื่อเป็นการพิสูจน์ทั้งทางปฏิบัติ และทฤษฎีว่ามันใช้งานได้จริงหรือไม่

ปีที่ 3 ทำ DL กับธุรกิจจริงมากขึ้น และเข้าร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ทั้งใน และนอกประเทศเกี่ยวกับ DL

ปีที่ 4 พยายามเข้าร่วมกับธุรกิจที่เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ปีที่ 5 ประเมินว่าวิสัยทัศน์กับสิ่งที่ทำมันสอดคล้องกันหรือไม่

หมายเหตุ: อันนี้เป็นตัวอย่างที่ผมคิดเอาเฉย ๆ นะครับไม่ได้เกี่ยวกับหนังสือ แค่ต้องการให้ตัวผมเองเห็นภาพมากขึ้น

6)วางแผน:ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการทำงานตามเป้าหมายที่เราวางกรอบเอาไว้ทั้ง 5 ปีว่าแต่ละปีเราจะทำอะไรบ้าง เช่น ปีที่ 1 กำหนดหัวเรื่องที่เราจะงานวิจัย, ศึกษาทฤษฎี และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง, มองถึงประโยชน์ว่าสามารถนำไปใช้ในธุรกิจใดได้บ้าง และลงมือทำวิจัย เป็นต้น

7)ลงมือทำ:ในขั้นตอนนี้เป็นการลงมือทำตามแผนที่เราได้วางเอาไว้แล้วว่ามีขั้นตอนใดบ้าง และในแต่ละขั้นตอนอยู่ในช่วงเวลาใดบ้าง

8)วัดผล และสะท้อนผลการทำงาน เป็นการวัดผลการทำงานว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ และแนวทางที่วางเอาไว้ใช้งานได้ดีแค่ไหน และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

9)สะท้อนผลการทำงาน: เป็นการพิจารณาผลการทำงานของเราในแต่ละปีว่าเป็นอย่างไรสอดคล้องกับเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่ และควรมีการแก้ไขตรงส่วนใดบ้าง

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

หนังสือ Life Without Limits ของ Nick Vujicic

วันนี้เรามาสรุปเนื้อเรื่องคร่าว ๆ ของหนังสือ Life Without Limits ของ Nick Vujicic เป็นหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกที่ได้อ่านบางครั้งอาจจะแปลผิดบ้างไม่ครบถ้วนบ้าง ในส่วนต่อไปจากนี้ขอเรียกชื่อว่า Nick แทนนะครับ เพราะถ้าเรียกเต็มมันยาวมาก ^^"

Nick เกิดที่ประเทศออสเตรเลียนะครับเค้าเกิดมาด้วยความผิดปกติทางด้านร่างกายคือไม่มีแขนและขาทั้งซ้ายและขวา แต่เค้ายังสามารถดำเนินชีวิต และเป็นนักพูดที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั้งโลกค่อนข้างเลยทีเดียวหละครับ อีกอย่าง Nick เค้าใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ผ่านเรื่องร้าย ๆ มาได้ทุกครั้ง หลายคนอาจจะสงสัยว่าเค้านับถือศาสนาอะไร เฉลยครับเค้านับถือศาสนาคริสครับ

หนังสือเล่มนี้ให้แง่คิด ทัศนคติต่าง ๆ และเครื่องมือในการช่วยเราสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น

1.ในการดำเนินชีวิตสิ่งหนึ่งที่เราขาดไม่ได้ คือ เป้าหมาย ของชีวิตว่าเราอยากเป็นอย่างไร หลายคนอาจจะมองว่ามันเป็นอะไรที่ เบ ๆ อะทุกคนรู้อยู่แล้ว ใช่ครับ ทุกคนรู้ เพียงแต่ทุกคนทำกันหรือไม่ ซึ่งถามว่าผมรู้มั้ยก่อนหน้านี้ ผมก็รู้เหมือนกันนะครับ ประเด็นอยู่ที่ว่าแล้วเป้าหมายของชีวิตเราคืออะไร ^^" ในหนังสือเล่มนี้เค้าก็บอกคร่าว ๆ นะครับเป้าหมาย คือ "สิ่งที่เราอยากจะเป็น หรืออยากพัฒนาตัวเองไปถึงไหน" เออนะ เหมือนว่าจะง่าย แต่พอลองทำก็ยากนิดนึง แต่ผมก็ลองแล้วก็น่าสนใจดีนะครับ ^^

2.ในการไปถึงเป้าหมายนั้นเราอาจจะต้องใช้เครื่องมือทางด้านจิตใจช่วยเหลือเราบ้าง แล้วเครื่องมือเหล่านั้นคืออะไรกันหละ (ผมคงบอกได้ไม่หมดนะครับเพราะมันเยอะ ^^" )

2.1. ความเชื่อ มันเป็นเครื่องมือที่บอกว่าก่อนที่คุณจะให้คนอื่นเชื่อในตัวคุณว่าคุณจะไปถึงเป้าหมายได้นั้น คุณต้องเชื่อตัวเองก่อน

2.2.ความหวัง มันเปรียบเหมือนสายน้ำเล็ก ๆ ที่ช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจ เป้าหมาย และความเชื่อเราว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นมันสามารถเป็นไปได้ ถึงแม้จะยากส์ลำบากหน่อย ^^"

2.3. ศรัทธา มันคือ "ความเชื่อ" แต่เป็นความเชื่อในสิ่งที่ทำอยู่ว่ามันสามารถไปถึงเป้าหมายได้ ซึ่งบางครั้งเราอาจจะต้องใช้ศรัทธาช่วยเวลาที่เราเจอคนอื่น ๆ มองต่างจากเราว่าสิ่งที่เราทำนั้นมันไม่ดี เพราะเราไม่เหมือนคนอื่นเค้า หรือ ไม่มีใครทำ

2.4.การปรับทัศนคติในด้านบวก

2.4.1.การขอบคุณ เป็นการขอบคุณเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตเราไม่ว่าจะดี หรือ ไม่ก็ให้ขอบคุณ ซึ่งอาจจะส่งสัยว่าเหตุการณ์ดี ๆ เข้ามาในชีวิตอะพอเข้าใจว่าขอบคุณที่มอบสิ่งดี ๆ ให้ แล้วเหตุการณ์ร้าย ๆ ทำไมต้องขอบคุณอะ เค้าบอกเราว่าเจ้าเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่วิ่งเข้ามาในชีวิตเรานั้นเปรียบเสมือนบทเรียนให้เราได้เรียนรู้ เข้าใจสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น

2.4.2.การลงมือทำ อ้าวเอ้ยการลงมือทำเนี้ยนะมันเกี่ยวกับอะไรกับการปรับทัศนคติในด้านบวกหละ เค้ากำลังจะบอกเราว่าถ้าเราจะทำอะไรก็ตามอย่าคิดอะไรมากเลยครับให้ "ลงมือทำมัน" ทำไปเรื่อย ๆ เคียง ๆ มาเรียง ๆ เลยทำจนกว่าจะสำเร็จตามเป้าที่เราได้วางเอาไว้ บางครั้งอาจจะเจออุปสรรคอะไรก็ทำต่อครับ

2.4.3.การเข้าใจ ตามตัวเลยครับพยายามทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบว่าทำไมสิ่งนี้ถึงเป็นอย่างนี้ ซึ่งมีตัวอย่างที่เป็นเรื่องเล่าใน Internet คือ

มีผู้ชายคนหนึ่งขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินพร้อมลูก ๆ 3 คน ซึ่งลูก ๆ ทั้ง 3 คนค่อนข้างซนจนทำให้ผู้โดยสารรถไฟขบวนนั้นออกอาการลำคานเด็ก ๆ แล้วเข้าไปบอกพ่อที่มากับลูกว่าทำไมไม่รู้จักดูแลลูกให้ดีกวนคนอื่นหมดแล้วนะ ผู้เป็นพ่อก็ขอโทษผู้โดยสารท่านนั้นแล้วบอกว่าเด็กเค้าคงยังไม่ทราบว่าแม่เค้าเพิ่งเสียไปเมื่อกี้ ผู้โดยสารท่านนั้นได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็เข้าใจ และได้ขอโทษคุณพ่อลูก 3 ท่านนั้น

2.4.4.การให้อภัยข้อนี้มันอาจจะเป็นผลมาจากการเข้าใจ(ในมุมมองของตัวผม) พอเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น และมากระทบกับเรา อันไหนมากระทบแล้วทำให้เรารู้สึกแย่เราก็ให้อภัย อะไรประมาณนั้น ^^"

2.5.การจัดการเกี่ยวกับความกลัว หรือ ความกังวล เค้าบอกว่าความกลัว หรือ ความกังวลเป็นเพียงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น เราสามารถจัดการกับมันได้โดยการ

2.5.1.ให้นึกภาพว่าเราสามารถทำมันได้ และได้การตอบรับที่ดี (อันนี้ค่อนข้างใช้พลังงานในการมโนเยอะยากส์นิดนึงสำหรับผม ^^")

2.5.2.การเตรียมตัวให้พร้อมที่สุดเท่าที่เราสามารถทำได้ครับ (อันนี้ง่ายกว่าข้อเมื่อกี้เยอะเลยเนอะ สำหรับผมนะครับ ^^)

2.6.มุมมองสำหรับข้อผิดพลาด

2.6.1.อันนี้เหมือนกับสุภาษิตไทยเลยครับคือ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนครู ให้เราได้เรียนรู้ว่าเราพลาดอะไร และพยายามหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดอันเดิมในครั้งต่อไป

2.6.2.ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะทำให้เรามีความเข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม

2.6.3.เอาความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเปรียบดังแรงขับเคลื่อน ให้เราเดินไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง และไปถึงเป้าหมายให้ได้

2.6.4. การปล่อยวาง ความหมายของมันคือ ปล่อยวางผลที่เกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อเราทำเต็มที่แล้วไม่ว่าผลจะออกมาพลาดมาก หรือ พลาดน้อย ก็ให้ปล่อยวางมัน เพราะได้ทำทุกอย่างเต็มที่แล้ว

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

แค่เปลี่ยนเรื่องนี้ ความผิดพลาดก็ลดลง อย่างเหลือเชื่อ



วันนี้ได้อ่านหนังสือเรื่อง "แค่เปลี่ยนเรื่องนี้ ความผิดพลาดก็ลดลง อย่างเหลือเชื่อ" จากสำนักพิมพ์ AMARIN HOW-TO หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือแปลจากญี่ปุ่นคับ เนื้อหาในเล่มเค้าจะบอกถึงประเด็นต่างๆ ที่เป็นสาเหตุที่เกิดข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เขียนแล้วนำมาถ่ายทอดให้เราได้รับรู้ ซึ่งถ้าเราลองพิจารณาหัวข้อต่างๆแล้ว ก็คิดว่ามันไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะกับคนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่คนไทยก็เกิดได้ เช่น -การละเลย หรือ การเชื่อมั่นมากเกินไป กับสิ่งที่เราทำอะไรซ้ำๆ เช่น การขึ้นบันไดบ้านตัวเองที่เราขึ้นมาบ่อยๆ นั้น คุณคิดว่าจะมีมั้ยที่เราจะไม่ระวังแล้วสะดุดบันไดแล้วล้มเจ็บ -เวลาที่เกิดข้อผิดพลาดแล้วควรหาว่ามันเกิดจากสาเหตุใด เพราะอะไร แล้วจะปรับปรุงอย่างไรไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก -อย่ายึดติดความสมบูรณ์ เพราะทุกอย่างมีการเปลียนแปลงอยุ่ตลอด ดังนั้น เราควรที่จะอยุ่กับปัจจุบัน และปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นจริง -อย่าทำอะไรแบบคนอื่นทำตามๆกันมา ต้องเข้าใจสิ่งที่ทำด้วยว่าทำเพราะอะไร ทำไมถึงทำ และทำๆไม เนื่องจากเมื่อเวลาเปลี่ยนเทคโนโลยีเปลี่ยนเราสามารถที่จะนำสิ่งเหล่านี้มาประยุกต์กับสิ่งที่เราทำได้

ซึ่งจากการอ่านเนื้อหาในหนังสือมันทำให้ผมลองนำมาแปลง flow ให้เข้าใจง่ายขึ้น



สังเกต เป็นขั้นตอนการสังเกตกระบวนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่ามีส่วนไหนบ้างที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาด
รับรู้ เมื่อเราสังเกตเห็นข้อผิดพลาดสิ่งที่ตามมา คือ รับรู้ว่าขั้นตอนที่ผิดพลาดนั้นอยู่ตรงส่วนใด และเกี่ยวข้องกับใคร
ปรับปรุง เป็นกระบวนการปรับปรุงการทำงานที่เกิดข้อผิดพลาด
ติดตามผล หลังจากที่มีการปรับปรุงเพื่อลดข้อผิดพลาดแล้ว เราก็ต้องมาติดตามผลการปรับปรุงว่าเป็นอย่างไรบ้าง
Feedback เมื่อเราปรับปรุง และติดตามผลการทำงาน จากนั้นก็ทำการ Feedback ผลกลับไปยังการสังเกต เพื่อดูว่ามีขั้นตอนส่วนไหนอีกพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นผิดพลาดขึ้นได้

อีกอย่างนึงที่ชอบสำหรับหนังสือเล่มนี้คือ ประเด็นต่าง ๆที่เค้าเอามาเขียนอยู่ในหนังสือเล่มนี้นั้นส่วนใหญ่มันเกิดขึ้นในชีวิตเราจริง ๆ เพียงแต่ว่าเราจะสังเกตุข้อผิดพลาด แล้วนำมาปรับปรุงการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น และลดการผิดพลาดลงได้อย่างไร